“มะเร็ง” คืออะไร ? อะไรคือ “มะเร็ง”
มะเร็ง (Cancer) คือภาวะที่เซลล์ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรม ทำให้มีการเจริญเติบโตมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมและจำกัดขอบเขตได้ และทำให้มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นในร่างกาย เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก เป็นต้น ความผิดปกติของเซลล์นี้สามารถเกิดได้ทุกอวัยวะ เช่น ปอด ตับ เต้านม เป็นต้น ซึ่งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งแต่ละที่ก็มีความแตกต่างกันไป
โรคมะเร็งที่พบได้บ่อย เช่น
- มะเร็งปอด
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งลำไส้
- มะเร็งปากมดลูก
- มะเร็งตับ
- มะเร็งกระเพาะอาหาร
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
- มะเร็งท่อน้ำดี
- มะเร็งผิวหนัง
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- มะเร็งกระดูก เป็นต้น
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง
1. ปัจจัยภายนอก เช่น การติดเชื้อบางชนิด
-
- ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งตับมากขึ้น
- การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ในกรณีที่ชอบรับประทานอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี
- การติดเชื้อ HPV มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูกและมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น
- ผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับมากขึ้น
- ผู้ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดเป็นเวลานาน มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังมากขึ้น
- ผู้ที่สูบบุหรี่ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งช่องปาก มะเร็งปอดมากขึ้น
- สารอะฟลาทอกซินที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะในถั่ว เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ
- สารก่อมะเร็งในอาหารจำพวกปิ้ง ย่าง ทอด โดยเฉพาะเนื้อที่ย่างหรือปิ้งจนไหม้เกรียม เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลายชนิด
- สารไฮโดรคาร์บอน เป็นสารเคมีที่ใช้ในการถนอมอาหารอย่างไนโตรซามิน ซึ่งเป็นสีย้อมผ้าที่นำมาใช้เป็นสีผสมอาหาร มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลายชนิด
2. ปัจจัยภายใน
-
- เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกายจากสารพันธุกรรม เช่น มะเร็งอัณฑะ กลุ่มโรคมะเร็งเต้านม รังไข่
อาการของโรคมะเร็ง
-
- สำหรับในช่วงแรกของการเกิดโรคมะเร็งขึ้นในร่างกายนั้นเรียกได้ว่าแทบไม่มีอาการ เมื่อมีการลุกลามของโรคมากขึ้นซึ่งมะเร็งแต่ละชนิดจะมีการลุกลามของโรคช้าเร็วต่างกัน ผู้ป่วยอาจมีอาการไม่จำเพาะ เช่น รู้สึกอ่อนเพลียง่าย เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็ว ผอมซูบ น้ำหนักลด
- เมื่ออยู่ในระยะที่มะเร็งเริ่มลุกลามมากขึ้นจะเริ่มปรากฏอาการอย่างชัดเจน อาการแสดงจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของโรคที่มีการกระจายไป เช่น หากกระจายไปที่ปอดจะมีไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด หอบเหนื่อยเป็นต้น หากมีการกระจายไปยังกระดูกจะมีอาการปวด กระดูกเปราะหักง่าย เป็นต้น
อาการผิดปกติต่างๆ ดังนี้ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
- มีเลือดออกผิดปกติบริเวณตำแน่งต่างๆ เช่น ทวารหนัก ปากมดลูก
- เริ่มรู้สึกว่ากลืนอาหารลำบาก หรือรู้สึกเสียดแน่นท้องบ่อยๆ
- ปัสสาวะสีแดงปนเลือด
- ถ่ายอุจจาระสีดำ หรือมีมูกเลือดปน
- เสียงเริ่มแหบ และไอเรื้อรัง
- ไอเป็นเลือด
- เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นในร่างกายแล้วแผลหายช้า หรือเป็นแผลเรื้อรัง
- เมื่อคลำพบก้อนตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- เมื่อไฝ หูด หรือปานในร่างกายตามส่วนต่างๆ เริ่มเปลี่ยนแปลง เช่น ใหญ่ขึ้น หรือสีเปลี่ยน
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ทานอาหารได้น้อย
การรักษา
- การผ่าตัด
- การใช้รังสีร่วมรักษา
- การใช้ยา โดยอาจแบ่งเป็น ยาเคมีบำบัด ยาฮอร์โมน ยารักษามุ่งเป้า และยากลุ่มอิมมูโน